ยาต้านเชื้อไวรัส เอชไอวี เอดส์
นับตั้งแต่เริ่มพบโรคเอดส์ เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสมาโดยลำดับ นับตั้งแต่เริ่มพบยาตัวแรก คือ AZT เมื่อปี ค.ศ. 1987 จนถึงปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วถึง 3 กลุ่ม รวม 15 ตัว รวมถึงการพัฒนาเทคนิคการใช้ยาจากเดิมที่เคยใช้ยาเพียงตัวเดียว ในการยับยั้งไวรัส HIV ซึ่งสามารถควบคุมเชื้อได้เพียงระยะสั้น ๆ เนื่องจากเกิดการดื้อยาจากการกลายพันธุ์ (mutation) ในยีนส์ของไวรัส ต่อมามีการพัฒนาโดยการใช้ยาร่วมกัน 2 ชนิด พบว่าสามารถยับยั้ง HIV ได้นานขึ้น แต่ก็ได้ผลเพียงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็เกิดการดื้อยา การรักษาจึงไม่ได้ผลเช่นเดียวกับการใช้ยาตัวเดียว จนในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการพบยากลุ่ม protease inhibitors (PIs) มาร่วมในสูตรการรักษาเรียกว่า highly active antiretroviral therapy (HAART) โดยการใช้ยาหลายตัวร่วมกันแทนการใช้ยาเพียงตัวเดียว สามารถควบคุมไวรัสได้อย่างสิ้นเชิง
ยาต้านไวรัส ดังกล่าวจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม รวม 15 ตัว ซึ่งตัวยาทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะแสดงฤทธิ์ยับยั้งวงจรชีวิตของไวรัสเอดส์ดังนี้
ยากลุ่มที่ 1 ขัดขวางไม่ให้สารพันธุ์กรรม (RNA) ของไวรัส เข้าไปรวมตัวกับสารพันธุ์กรรม (DNA) ในเซลล์ของคนได้ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า NRTIs (Nucleoside reverse transcriptase inhibitors)
ยากลุ่มที่ 2 ทำให้ไวรัสไม่สามารถแบ่งตัวได้ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า NNRTIs (Non-Nucleoside reverse transcriptase inhibitors)
ยากลุ่มที่ 3 ทำให้ไวรัส พิการ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า Pi (Protease Inhibitors)
ปัจจุบันยาที่ใช้ต้านไวรัส 3 กลุ่ม มีชื่อทางการค้าดังนี้
ยากลุ่มที่ 1 มีชื่อย่อว่า NRTIs (Nucleoside reverse transcriptase inhibitors)
ยาเดี่ยวใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว
2. ddI (Didanosine) ชื่ออื่น ไวเด็กซ์ (Videx-EC ) ไดร์เวียร์ ( Drivir )
3. 3TC (Iamivudine) ชื่ออื่น อีพิเวียร์ (Epivir) รามีเวียร์ ( Lamevir )
4. ddC (Zalcitabine) ชื่ออื่น ไฮวิด (Hivid)
5. d4T (Stavudine) ชื่ออื่น ซีริท (Zerit) สตาเวียร์ (Stavir)
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) ชื่ออื่น ไซย์เจน (Ziagen)
ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 2 ตัวขึ้นไป
2. AZT บวก 3TC บวก อาบาคาเวียร์ ( Abacavir ) มีชื่อว่า ไตรซีเวีย (Trizivir)
ยากลุ่มที่ 2 มีชื่อย่อว่า NNRTIs(Non-Nucleosides reverse transcriptase inhibitors) ได้แก่
2.สโตคริน (Stocrin) ชื่ออื่น อิฟาเวอเร็นซ์ (Efavirenz)
3.เรสคริปเตอร์ (Rescriptor) ชื่ออื่น ดีลาเวอร์ดีน (Delavirdine)
4.ไฮดรี (Hydre) ชื่ออื่น ไฮดรอคซียูเรีย (Hydroxyurea)
5.ดรอคเซีย (Droxia) ชื่ออื่น ไฮดรอคซียูเรีย (Hydroxyurea)
หมายเหตุ ยาข้อ 3, 4, 5 ในประเทศไทยยังไม่มีจำหน่าย
ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 3 ตัว เป็นยา กลุ่ม 1 + กลุ่ม 2 คือ
2.ยาจีพีโอเวียร์ Z (GPOz 250) คือยา AZT + 3TC + NVP
หมายเหตุ เป็นยาขององค์การเภสัชเป็นผู้ผลิต
ยากลุ่มที่ 3 มีชื่อย่อว่า Pi (Protease Inhibitors)โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ
ยาเดี่ยวใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว
2.ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ชื่ออื่น ฟอร์ทูเวส (Fortovase)
3.ครีซีแวน (Crixivan) ชื่ออื่น อินดินาเวียร์ (Indinavir)
4.ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ชื่ออื่น เนลพินาเวียร์ (Nelfianvir)
5.แอมปรินาเวียร์ (Amprenavir) ชื่ออื่น เอเจนนิเวส (Agenevase)
ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 2 ตัว
ประโยชน์จากการใช้ยา รักษาผู้ติดเชื้อ โดยใช้ยาต้านไวรัสหลายตัวร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ( highly active antiretroviral therapy )
ในปัจจุบันจะให้ประโยชน์ดังนี้
2.ทำให้ระดับภูมิคุ้มกัน CD4 เพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณไวรัสลดน้อยลง
3.ทำให้การติดโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายลดลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น กลับขึ้นมาเป็นผู้ติดเชื้อ
โทษและผลข้างเคียงของยา
ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 1 NRTls
2. ddI ตับอ่อนอักเสบ,อุจจาระร่วง, คลื่นไส้, ปลายประสาทอักเสบ
3. ddC ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
4. d4T ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
5. 3TC ตับอ่อนอักเสบ
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) มีไข้,ผื่น, มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ,ทางเดินอาหาร
ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา อาบาคาเวียร์ (Abacavir)
ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 2 NNRTls
2.สโตคริน (Stocrin) มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มึนงง, ฝันประหลาด
ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 3
2.ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน,ตับอักเสบ
3.ครีซีแวน (Crixivan) เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วในกระแสเลือดสูงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อเซลล์สมอง,ปวดหัว,อ่อนเพลีย
4.ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ถ่ายเหลว,ท้องเสีย,อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
5.กาเล็ทตร้า (Kaletra) ท้องเสีย,ทำให้ไขมันอุตตันในกระแสเลือด,ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน ,ตับอักเสบ
ข้อแนะนำการรักษา
การใช้ยาต้านไวรัส
สำหรับข้อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัสจะพิจราณาโดยหลัก 3 ประการดังนี้
2.ผลการตรวจเลือดวัดระดับภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า CD4
3.ผลการตรวจเลือดวัดระดับปริมาณไวรัสในร่างกายที่เรียกว่า viral load
จากหลักในการพิจารณาดังกล่าวได้แบ่งผู้ติดเชื้อออกเป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 2. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว
กลุ่มที่ 1 ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.2 ผู้ติดเชื้อที่มี CD4 มากกว่า 350 เซล/ลบ มม. อาจจะชะลอ การใช้ยาในผู้ป่วยที่มี CD4 ระดับนี้ออกไปก่อนและติดตามตรวจนับ CD4 ทุก 3 เดือน
กลุ่มที่ 2 ผู้ติดเชื้อ ที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว
สูตรการให้ยาแบบจับคู่ยา
การให้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ โดยการจับคู่ยาอาจแบ่งออกเป็น 2 สูตรคือ
1.สูตรยา ARV ( antiretroviral drug )
คู่ที่ 1 AZT + ddI
คู่ที่ 2 AZT + 3TC
คู่ที่ 3 AZT + ddC
คู่ที่ 4 d4T + ddI
คู่ที่ 5 d4T + 3TC
ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน
คู่ที่ 2 ddI + ddC
คู่ที่ 3 d4T + ddC
2.การให้ยาแบบสูตร HAART
AZT + ddI + สโตคริน (Stocrin)
AZT + 3TC + ครีซีแวน (Crixivan) + ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
d4T + 3TC + ไวราเซ็ปท์ (Viracept)
d4T + ddI + ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) + ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
3TC + ddI + กาเล็ทตร้า (Kaletra)
AZT + ddC + ไวรามูน (Viramune)
หรืออาจจะได้สูตร อื่น ต่างจากนี้
หมายเหตุ
2.ยากลุ่มที่ 3 ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ควรใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์(Ritonavir) จะได้ผลดีกว่าการใช้แต่ยาซาควินาเวียร์ (Saquinavir) เพียงตัวเดียวกรณีผลการรักษาล้มเหลวให้พิจารณาเปลี่ยนยาใหม่โดยดูจากจากสิ่งต่อไปนี้ถ้าจำนวน ไวรัสในเลือดเพิ่มขึ้นเกิน 10,000 copy/มล.
ข้อควรระวังในการใช้ยา
ความจริงของยารักษาโรคเอดส์
ทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมัน
2. ข้อเสีย คือ อาจจะก็ให้เกิดภาวะผิดปกติ ร่วมทั้งกลุ่มอาการ ( Syndrom ) ที่สืบเนื่องจากการใช้ยาต้านไวรัส เช่น ตับอักเสบ,ไขมันในเส้นเลือดสูง,เป็นเบาหวาน,โรคไต,ปลายประสาทอักเสบ,มีอาการปวดเมื่อยตามข้อตามตัว,มีผื่นขึ้นตามตัว,เกิดภาวะไขมันเคลื่อนย้าย,แก้มตอบ,แขนขาลีบ,พุงโต ด้วยเหตุผลนี้แนวคิดในการรักษาโดยการใช้ยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียวได้เปลี่ยนไป
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีรักษาที่สมบูรณ์แบบ 2 ทางที่เรียกว่า Complementary treatment หมายถึงการรักษา ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบัน ควบคู่ไปกับแพทย์ทางเลือก Alternative medicine โดยมีหลักการดังต่อไปนี้
1. จะใช้ยาต้านไวรัสเพื่อลดจำนวนเชื้อไวรัส จนไม่สามารถตรวจพบได้ (ปริมาณไวรัสต่ำกว่า 50 หรือ 20 ตัว/ลบ.มม.)
2. จะใช้วิธีป้องกันข้อเสียของยาต้านไวรัส โดยการซ่อมสร้างร่างกายโดยใช้วิธีที่เรียกกันว่าแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) เช่นการใช้ยาสมุนไพรแบบสกัดที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เชื่อได้ว่า มีฤทธิ์ในการปกป้อง ซ่อมสร้างร่างกาย เช่น ปกป้องตับ โดยการใช้ สมุนไพรเห็ดหลินจือ,ชะเอมเทศ, ลูกใต้ใบ, ฟ้าทะลายโจร, มะระขี้นกก็ยังมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย การใช้วิตามิน C วิตามิน B6 วิตามินรวมเกลื่อแร่ การใช้น้ำมันปลาในกลุ่มโอเก้า 3 ป้องกันไขมันในเส้นเลือดสูง การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อการใช้ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารบางชนิดช่วยด้วยสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถช่วยปกป้องผลข้างเคียง ที่เกิดจากยาต้านไวรัส และต้องคอยเฝ้าระวังเจาะเลือดตรวจตับ ตรวจไตตรวจไขมันในเส้นเลือด ตรวจน้ำตาลใน เลือดทุก 3 เดือนหรือเจาะเลือดตรวจทันที ที่สงสัยว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่สืบเนื่องมาจากการใช้ยาต้านไวรัส
จากแนวคิดการรักษาโดย การใช้ยาต้านไวรัส ควบคู่กันไปกับการซ่อมสร้างร่างกาย Complementary treatment ดังกล่าว ซึ่งวิธีการนี้มันก็เหมือนกับการรักษาคนไข้ที่เป็นวัณโรค เช่นถ้าแพทย์ที่รักษาให้แต่ยารักษาวัณโรคอย่างเดียว โดยที่ไม่ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของคนไข้ควบคู่ร่วมไปด้วย เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนไข้มักจะโซมผอมแห้ง มาก เพราะฉะนั้นการรักษาคนไข้ HIV จึงควรรักษา 2 ทางควบคู่กันไป จะได้ผลที่ดีกว่า การให้แต่ยาต้านไวรัสเพียงด้านเดียว แต่สมุนไพรและวิตามินบางอย่าง ไม่สามรถ ใช้รวมกันได้เช่น สโตคริน (Stocrin) ไม่สามารถ รับประทานกับ กระเทียมสกัดได้ครีซีแวน (Crixivan) ไม่สามารถ รับประทาน กับวิตามิน C ได้ยังมีข้อที่ต้องควรระวังอีกมากมายไม่ว่าเรื่องสมุนไพร บางตัวที่ไม่สามารถ รับประทานติดต่อกันได้นานเช่น ฟ้าทะลายโจร ถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ควาดันในเลือดต่ำได้ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น